เขียนประกาศรับสมัครงานอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการแบ่งแยก (Discrimination)

เขียนประกาศรับสมัครงานอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการแบ่งแยก (Discrimination)

หน้าที่หลักของประกาศรับสมัครงานคือประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งที่ว่างอยู่และต้องดึงความสนใจของผู้สมัครมาให้ได้ ดังนั้น การเขียนประกาศรับสมัครงานให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

ประกาศรับสมัครงานที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยบริษัทประหยัดได้ทั้งเงินและเวลาเพราะมีการระบุสิ่งที่บริษัทต้องการอย่างชัดเจน ประกาศรับสมัครงานที่ดียังช่วยให้บริษัทโดดเด่นท่ามกลางตลาดงานที่มีการแข่งขันสูงอีกด้วย ผู้สมัครที่มีความสามารถมีตัวเลือกมากมาย และส่วนใหญ่มักเลือกทำงานในบริษัทที่ส่งเสริมคุณค่าของพวกเขา ประกาศรับสมัครงานจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อให้บริษัทได้แสดงถึงคุณค่าและวัฒนธรรมในองค์กร

บริษัทหลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและนโยบายต่อต้านการแบ่งแยกมากขึ้น แต่เมื่ออ่านประกาศรับสมัครงานของบริษัทเหล่านั้นแล้วกลับไม่เป็นไปตามสิ่งที่พวกเขาตระหนักเสียอย่างนั้น

ในบทความนี้จะอธิบายถึงลักษณะของประกาศรับสมัครงานที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกและวิธีการเขียนประกาศรับสมัครงานที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการแบ่งแยก

ประกาศรับสมัครงานที่มีการเลือกปฏิบัติคืออะไร

ประกาศรับสมัครงานที่มีการเลือกปฏิบัติคือประกาศรับสมัครงานที่ระบุโดยตรงหรือโดนนัยเกี่ยวกับอายุ เพศ เชื้อชาติ ภาษา ความพิการ หรือศาสนา และใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเกณฑ์ในการคัดผู้สมัครออก

ตัวอย่างประกาศรับสมัครงานที่มีการเลือกปฏิบัติ

discrimination-example.jpg 280.78 KB

อคติโดยไม่รู้ตัว

ในบางครั้งผู้เขียนประกาศรับสมัครงานอาจไม่ได้ตั้งใจให้เกิดการเลือกปฏิบัติกับผู้สมัคร แต่เป็นเพราะสิ่งที่เรียกว่า ‘อคติโดยไม่รู้ตัว’ ภายในจิตใจของผู้เขียน

อคติโดยไม่รู้ตัวคือทัศนคติภายใต้จิตใจที่ทำให้รู้สึกชอบหรือเกลียดคนบางคนหรือกลุ่มคนบางกลุ่มได้ ตัวอย่างของอคติโดยไม่รู้ตัว เช่น อคติทางเพศ วยาคติ (การเหยียดอายุ) อคติจากรูปลักษณ์ เป็นต้น

ตัวอย่างการมีอคติโดยไม่รู้ตัวในการรับสมัครงาน เช่น ผู้จัดการเลือกรับเฉพาะผู้สมัครที่มาจากโรงเรียนเดียวกับตนเอง ซึ่งเป็นการกีดกันผู้สมัครคนอื่นๆ ที่มาจากโรงเรียนต่างแห่งแต่มาตรฐานโรงเรียนอาจดีเท่าหรือดีกว่าโรงเรียนของผู้จัดการก็ได้

บางคนอาจเลือกปฏิบัติกับคนอื่นเพราะไม่รู้ว่าตนเองมีอคติโดยไม่รู้ตัวซ่อนอยู่ ดังนั้น การเข้าใจอคติโดยไม่รู้ตัวของตนเองจึงเป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดการเลือกปฏิบัติลงได้

เคล็ดลับช่วยลดอคติโดยไม่รู้ตัวในการรับสมัครงาน

  • สัมภาษณ์ผู้สมัครโดยถามคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานและทักษะเป็นหลัก
  • ให้เวลาผู้สมัครได้เล่าเรื่องของตนเองได้อย่างเต็มที่และอย่ารีบตัดสินผู้สมัครก่อนที่จะเล่าจบ
  • ไม่ควรยึดเอาความคิดของตนเพียงคนเดียวในการตัดสินผู้สมัคร ควรทำการตัดสินผู้สมัครร่วมกับทีมจัดจ้างหรือทีมสรรหาบุคลากร
  • อ่านใบสมัครโดยไม่ต้องสนใจเรื่องเพศ ชื่อ หรือความสนใจของผู้สมัคร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอคติโดยไม่รู้ตัว

นอกจากเรื่องความชัดเจนของประกาศรับสมัครงานแล้ว บริษัทควรให้ความสำคัญกับการเลือกใช้คำที่ไม่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกในการบอกความต้องการและรายละเอียดของงานอีกด้วย คำแนะนำและข้อควรระวังในการเลือกใช้คำในประกาศรับสมัครงานมีดังนี้

วิธีการหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติในประกาศรับสมัครงาน

1. การแบ่งแยกอายุ

หลีกเลี่ยงการใช้อายุหรือคำที่แฝงนัยเรื่องอายุ เช่น หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ เป็นเกณฑ์คัดเลือกผู้สมัคร ควรระบุจำนวนปีที่มีประสบการณ์มากกว่าระบุอายุโดยตรง

1.png 72.91 KB

2. การแบ่งแยกเพศ

ไม่ควรใช้เพศเป็นเกณฑ์คัดเลือกผู้สมัคร ยกเว้นตำแหน่งนั้นมีเพียงเพศใดเพศหนึ่งที่ทำได้เท่านั้น เช่น ต้องการนักแสดงชายเพื่อเล่นบทคุณลุงในภาพยนตร์ และไม่ควรระบุเพศในตำแหน่งงาน เช่น พนักงานเสิร์ฟหญิง พนักงานขายชาย

2.png 71.54 KB

3. การแบ่งแยกเชื้อชาติและภาษา

ไม่ควรใช้เชื้อชาติและภาษาเป็นเกณฑ์คัดเลือกผู้สมัคร ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นพร้อมระบุเหตุผลให้ชัดเจน

3.png 83.95 KB

4. การแบ่งแยกความพิการ

ไม่ควรระบุเรื่องความพิการในเกณฑ์คัดเลือกผู้สมัคร ยกเว้นตำแหน่งนั้นต้องใช้ร่างกายในการทำงาน แต่ต้องระบุเหตุผลให้ชัดเจน

4.png 51.67 KB

5. การแบ่งแยกศาสนา

ศาสนาไม่ควรเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้สมัคร ยกเว้นตำแหน่งนั้นต้องใช้ศาสนาในการทำงาน เช่น ต้องการบาทหลวงชาวคริสต์เพื่อทำพิธีศีลจุ่ม

5.png 71.27 KB
แนวทางที่กล่าวไปข้างต้นสามารถช่วยลดการแบ่งแยกในการเขียนประกาศรับสมัครงานได้มากขึ้น ควรทำการตรวจสอบประกาศรับสมัครงานกับทีมจัดจ้างหรือทีมสรรหาบุคคลากรก่อนตีพิมพ์ทุกครั้งเพื่อลดการใช้คำที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกในประกาศรับสมัครงาน

การเขียนประกาศรับสมัครงานที่ไม่มีการแบ่งแยกหรือการเลือกปฏิบัติสามารถช่วยดึงดูดผู้สมัครที่คาดหวังไว้ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่บริษัทสามารถแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคนอีกด้วย